จากส่งไก่ สู่ ส่งความปลอดภัยในชุมชนมุมมองใหม่ของคนสายTechโคราช
วันนี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนไอเดียOnline เรื่องRobot กับทีมวิศวกรสายTech เรื่องเมืองอัจฉริยะ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในมุมมองคนสายTechเองหุ่นยนต์อัตโนมัติที่เคยทำหน้าที่ส่งอาหารในอเมริกาวันนี้กำลังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองที่กำลังจะโตสู่การเป็นมหานคร อย่างโคราชเมืองใหญ่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา Smart City และ Smart Community อย่างโคราชได้จาก หุ่นยนต์ส่งของ สู่ หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน นอกจากการส่งอาหาร หากเราปรับระบบเซ็นเซอร์ กล้อง AI และการเดินลาดตระเวนเข้ามาเพิ่มเติม หุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่เป็น รปภ.ดิจิทัล (Digital Patrol Bot) ได้ในหมู่บ้านคือรูปแบบการทำงาน:
• ลาดตระเวนพื้นที่ ตามเส้นทางที่กำหนดอัตโนมัติทั้งกลางวันและกลางคืน• บันทึกภาพ–วิดีโอแบบเรียลไทม์ ส่งตรงเข้าแอปของนิติบุคคล หรือโทรศัพท์ของเจ้าของบ้าน• ตรวจจับความเคลื่อนไหวผิดปกติ ด้วยเซ็นเซอร์ความร้อน เสียง หรือการบุกรุก
• แจ้งเตือนทันที หากพบสิ่งผิดปกติ เช่น ไฟไหม้ ผู้บุกรุก หรือเสียงรบกวนเกินกำหนดโอกาสในพื้นที่โคราช:
• หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ เช่น โครงการรอบถนนมิตรภาพ, ถ.สุรนารายณ์, ถ.บายพาส มีความเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่ทดลอง
• ตอบโจทย์แนวคิด "เมืองอัจฉริยะ" (Smart City) และเสริมความปลอดภัยให้ผู้อยู่อาศัย โดยไม่ต้องเพิ่มทีม รปภ. อาจจะเอาไปดูด้านอื่นแทน• เหมาะกับตลาดบ้านระดับกลาง-บน ที่ต้องการความปลอดภัยพร้อมเทคโนโลยีขั้นตอนการทำงานของระบบ
• พัฒนา Platform เชื่อมต่อกับ Mobile App ของลูกบ้านและนิติบุคคลหรือบริษัท• ผูกบริการในรูปแบบ Subscription รายเดือน เช่น 1,200–1,500 บาท/เดือน/หลังคาเรือน (ต่ำกว่าการจ้างพนักงาน)
• ทำ Pilot Project ที่หมู่บ้านหนึ่งก่อน เช่น ในเขตเมืองนครราชสีมา แล้วขยายต่อแบบแฟรนไชส์หรือ B2B หรือเชนโรงแรมขนาดเล็ก
• พัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษา เช่น
- อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 มทส.
-ม.เทคโนโลยีสุรนารี
- ม.ราชมงคลอีสาน
- ม.ราชภัฎนครราชสีมา
- ม.วงษ์ชวลิตกุลแนวคิดนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่คือการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างมาตรฐานใหม่ของเมืองโคราชRobotนี้ จะไม่แค่ส่งอาหาร แต่จะเฝ้าบ้าน ดูแลครอบครัว และทำให้โคราชปลอดภัยขึ้นด้วยนวัตกรรมที่จับต้องได้
#SmartSecurityKorat #หุ่นยนต์KORATรักษาความปลอดภัย #KoratInnovation #NCC #หอFastCharge