ธรรมาภิบาลจังหวัด: เรื่องของประชาชนทุกคน ไม่ใช่แค่ของราชการ
หลายคนอาจมองว่า “ธรรมาภิบาล” เป็นเรื่องของหน่วยงานรัฐ เป็นภาษาทางการไกลตัว
แต่ในความจริง ธรรมาภิบาลระดับจังหวัด เป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคน มากกว่าที่คิด
ธรรมาภิบาลคืออะไร
ธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ หลักการบริหารจัดการที่เน้น ความโปร่งใส รับผิดชอบ มีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ และยึดหลักนิติธรรม
เมื่อจังหวัดบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล = ประชาชนได้รับผลดีโดยตรง
แล้วธรรมาภิบาลจังหวัดเกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างไรนะ
1. เรื่องงบประมาณ = เรื่องเงินภาษีเรา
• ธรรมาภิบาลทำให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรงเป้าหมาย
• ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลงบประมาณ และตรวจสอบได้ว่าเงินภาษีถูกใช้อย่างไร
2. คุณภาพบริการรัฐ = คุณภาพชีวิตของประชาชน
• เมื่อจังหวัดบริหารงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
• โรงพยาบาล รพ.สต. การศึกษา ขนส่งสาธารณะ จะถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้จริง
• ประชาชนจะไม่ถูกมองว่า “เป็นภาระ” แต่คือ “ผู้มีสิทธิ์รับบริการที่ดี”
3. การมีส่วนร่วม = ประชาชนมีเสียงในการพัฒนา
• ธรรมาภิบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น วางแผน และติดตามนโยบายท้องถิ่น
4. ตรวจสอบได้ = ป้องกันคอร์รัปชัน
• ยิ่งเปิดเผยข้อมูลมาก ประชาชนยิ่งมีอำนาจในการจับตาดู
• กลไกตรวจสอบของ ประชาชน ท้องถิ่น สื่อมวลชน จะทำงานได้จริง ถ้าเปิดเผยข้อมูลเพียงพอ
5. กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย
• ธรรมาภิบาลทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย
• ลดการใช้อำนาจโดยมิชอบ เพราะมีกติกาที่ชัดเจน และมีระบบติดตามการบังคับใช้
สรุปเลยว่าทำไมประชาชนควรสนใจธรรมาภิบาล ในจังหวัดของตน
เพราะมันคือรากฐานของจังหวัดที่ “พัฒนาอย่างยั่งยืน”
คณะกรรมการธรรมาภิบาล คือเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้ จังหวัด มีการใช้การบริหารงานที่ดีและใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า