ภาพรวมเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและภาคธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ยังมีแนวโน้มอ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลการจ้างงานที่ลดลงในภาคอีสาน

จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและภาคธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ยังมีแนวโน้มอ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านตัวชี้วัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การจ้างงาน และมูลค่าสินเชื่อรวม ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่าง นครราชสีมา หรือ โคราช

ข้อมูลการจ้างงานในภาคอีสาน
ดัชนีเตือนภัยเศรษฐกิจท้องถิ่น
ข้อมูลล่าสุดจากไตรมาส 1 ปี 2568 พบว่าการจ้างงานในภาคอีสานลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นสัญญาณที่สะท้อนถึงการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม การผลิต และการค้าปลีก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจท้องถิ่น
สำหรับจังหวัดนครราชสีมา ที่ถือเป็นประตูเศรษฐกิจของอีสานตอนล่าง การจ้างงานที่ลดลงในภูมิภาคย่อมส่งผลต่อระบบธุรกิจในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

• ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลดลง ส่งผลให้มีการชะลอการลงทุน ขยายกิจการ หรือแม้กระทั่งลดขนาดแรงงาน
• กำลังซื้อในท้องถิ่นอ่อนตัวลง กระทบยอดขายของธุรกิจรายย่อยและค้าปลีกในเขตเมือง
• การหมุนเวียนของเงินในระบบลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มกิจกรรมบริการและท่องเที่ยวในอำเภอหัวเมือง เช่น ปากช่อง, เมืองนครราชสีมา

มูลค่าสินเชื่อรวมอาจจะ สะท้อนความไม่มั่นใจของภาคธุรกิจ

ข้อมูลจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ชี้ให้เห็นว่า มูลค่าสินเชื่อรวมในภาคอีสานหดตัวลง 0.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน นับเป็นตัวสะท้อนว่าทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนยังไม่กล้าใช้จ่ายหรือก่อหนี้เพิ่ม ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
เมื่อเปรียบเทียบกับนครราชสีมา ซึ่งมีฐานธุรกิจทั้ง SME ขนาดกลาง-เล็ก และภาคเกษตรอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก การลดลงของสินเชื่ออาจแปลว่า:
• ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาธุรกิจไว้
• ครัวเรือนไม่สามารถขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การซื้ออุปกรณ์เกษตร เครื่องจักร หรือการปรับปรุงร้านค้า
• สถาบันการเงินเริ่มประเมินความเสี่ยงสูงขึ้น มีความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบมากขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ทดถอย ส่งผลกระทบปัจจัยเชิงบวกกับการลงทุนในภาคธุรกิจ

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ชัดว่า ฐานรากของระบบธุรกิจในภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดใหญ่เช่นนครราชสีมา กำลังเผชิญความท้าทายจากทั้งการจ้างงานที่ลดลงและความเชื่อมั่นทางการเงินที่หดตัว หากไม่มีมาตรการฟื้นฟูเฉพาะพื้นที่เข้ามาเสริม อาจทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นชะลอตัวยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้.

มานพ เทพสุวรรณวร
กรรมการฝ่ายบริหารองค์กร หอการค้าจ.นครราชสีมา